top of page

ภาวะซึมเศร้า

        ภาวะซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ของบุคคลที่แสดงความผิดปกติออกมา

ทั้งในด้านความคิด แรงจูงใจ อารมณ์ และพฤติกรรม ภาวะดังกล่าวนี้นับว่าเป็นปัญหา

ทางสุขภาพจิตที่สำคัญในปัจจุบัน โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย

นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง ต้องการความเป็นอิสระ

เป็นวัยที่เปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่ต้องปรับตัวอย่างมาก

ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่มีอารมณ์รุนแรง

มีความคิดและอารมณ์ที่ไม่มั่นคง บางครั้งขาดการยั้งคิด เกิดความเครียด

และเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้

(โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์ และคณะ, 2562)

เพิ่มข้อความในส่วนเนื้อหาเล็กน้อย_edited.jpg

สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้า

1. กรรมพันธุ์

     กรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง

2. สารเคมีในสมอง

     ระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมี

     สารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่ำลง

     รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้    ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการ

     ควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง

3. ลักษณะนิสัย

     ปัจจุบันมีทฤษฎีด้านความคิดที่หลากหลายซึ่งสนับสนุนว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความคิดที่บิดเบือน

     อันส่งผลต่อสภาพอารมณ์และลักษณะนิสัยของบุคคล ซึ่งเบค (Beck, 2011) ได้กล่าวว่า

     ภาวะอารมณ์และพฤติกรรมของบุคคลเกิดจากการรับรู้การแปลผลและความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์

     นั้นๆ ซึ่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีรูปแบบความคิดอัตโนมัติในด้านลบมีการแปลความไม่อยู่ในโลก

     ของความเป็นจริง ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเองลดลง สิ้นหวังและล้มเหลว

     อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด บางคนอาจมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า

     เช่น   มองตนเองในแง่ลบ   มองอดีตเห็นแต่   ความบกพร่องของตนเอง   หรือมองโลกในแง่ร้าย

     โดยมีการศึกษาพบว่า ความคิดอัตโนมัติในทางลบ การมองตนเองไม่ดีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ

     การเกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่นได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า

1. เพศ

     ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย  จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา  พบว่า  เพศหญิงมีควา

     เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย   ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างในบทบาทที่มาก

     กว่าและการเผชิญกับเหตุการณ์ตึงเครียดมากกว่า  โดยเพศหญิงมักจะเผชิญกับความเสี่ยงต่อการ

     เกิดภาวะวิกฤตในบทบาทที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำงานบ้าน การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง และปัญหา

     สุขภาพที่เกี่ยวกับการเจริญพันธ์ที่มากกว่าเพศชาย ดังนั้นจึงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เพศหญิงมีภาวะ

     ซึมเศร้าและวิตกกังวลมากกว่าเพศชาย

2. ความเครียด

     ความเครียดเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและสามารถทำนายการเกิดภาวะภาวะซึม

     เศร้าได้

3. ภาวะวิตกกังวล

     ความกังวลใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการซึมเศร้า และมีอํานาจการทํานายการเกิดภาวะซึม

     เศร้าได้

4. เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ

     เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น และเกิดความเครียด

     ทางอารมณ์ได้

5. ความครุ่นคิด

     ภาวะอารมณ์และพฤติกรรมของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น ซึ่งผู้

     ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีรูปแบบความคิดอัตโนมัติในด้านลบ มีการแปลความไม่อยู่ในโลกของความ

     เป็นจริง ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเองลดลง สิ้นหวังและล้มเหลว อันเป็น

     สาเหตุที่นำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด

เพิ่มข้อความในส่วนเนื้อหาเล็กน้อย_edited.jpg

ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า

1. ภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย (mild depression)

      เป็นภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่นแจ่มใส  อารมณ์เศร้า  เหงาหงอยชั่วคราว  รู้สึกได้เป็นบางครั้ง

2. ภาวะซึมเศร้าปานกลาง (moderate depression)

     ภาวะซึมเศร้าในระยะนี้จะรุนแรงขึ้นจนมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน

     แต่ยังสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ พฤติกรรมที่แสดงออกมี ดังนี้

    2.1  อารมณ์ มีอารมณ์ไม่สดชื่น เศร้าสร้อย หม่นหมอง ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หงุดหงิดง่าย

         ร้องไห้ง่าย

    2.2 กระบวนการทางความคิดและ สมาธิลดลง ลังเล ตัดสินใจไม่ได้ บางคนอาจเริ่มมีความคิดฆ่า

         ตัวตาย

    2.3 ประสาทสัมผัสทางกายผิดปกติ มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร

         แต่บางรายจะแสดงอาการตรงข้าม

    2.4 การเคลื่อนไหว ท่าทาง และ คำพูดผิดปกติ การเคลื่อนไหวช้าลง มีความกระวนกระวายมาก

         จะมีอาการย้ำคิดย้ำทำ การพูดจาลำบาก ขาดความมั่นใจในตนเอง

    2.5 การเข้าสังคมบกพร่อง มักคิดว่าตัวเองไม่มีค่า การขาดความนับถือตนเอง

3. ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง (severe depression)

     เป็นภาวะที่บุคคลมีความเศร้าตลอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมอย่าง

     ชัดเจนซึ่งทำให้ส่งผล  กระทบต่การใช้ชีวิตประจำวัน  เช่น  กินอาหารได้น้อยลง  เบื่ออาหาร

     นอนไม่หลับ  สิ้นหวัง  หดหู่  ไม่มีความสุขในชีวิต  วิตกกังวลตลอดเวลา  รู้สึกไม่มีความหวัง

     ไร้คุณค่า และไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆได้ ทำให้มีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น

เพิ่มข้อความในส่วนเนื้อหาเล็กน้อย (1)_edited.jpg

อาการเเละอาการเเสดงภาวะซึมเศร้า

1. การแสดงออกด้านอารมณ์ (Emotional)

       ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีความรู้สึกเศร้า   สิ้นหวังกระวนกระวาย   หงุดหงิดง่าย   ไม่เป็นมิตร   

       ร้องไห้บ่อยครั้ง      ความพึงพอใจในตนเองลดลง     ความสนใจสิ่งรอบข้างรอบตัวลดลง 

       รู้สึกไม่กระตือรือร้นในชีวิตไม่อยากคิดหรือไม่อยากทําอะไร รู้สึกเบื่อเหนื่อย ไม่มีแรง

       จูงใจในการทํากิจกรรมต่างๆ รู้สึกผิดท้อแท้และสิ้นหวัง

2. การแสดงออกด้านความคิด (Cognition)

      ส่วนใหญ่จะมีความคิดในแง่ลบ มีการประเมินตนเองต่ำ เช่น คิดว่าตนเองล้มเหลว ทําอะไรไม่มี

      ทางสําเร็จ ไม่มีความสามารถ มองโลกในแง่ร้าย มีความคาดหวังเกี่ยวกับอนาคตตนเองในแง่ลบ

      รู้สึกสิ้นหวัง ตําหนิและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ขาดความมั่นใจในตนเอง

      รับรู้ภาพลักษณ์ของตนเองต่ำ บางครั้งมีความคิดที่อยากตายหรืออยากฆ่าตัวตาย

3. การแสดงออกด้านพฤติกรรม (Behavioral changes)

      ส่วนใหญ่จะไม่สนใจในด้านภาพลักษณ์ของตนเอง การใส่ใจดูแลตนเองลดลง ไม่สนใจดูแล

      กิจวัตรประจําวันของตนเอง ขาดเรียน หรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมของทางสถาบัน แยกตนเองออก

      จากเพื่อน หรือสังคม ไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกับครอบครัว บางรายมีพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น

      พยายามทําร้ายตนเอง และเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียวตลอดเวลา

4. การแสดงออกด้านร่างกาย (Physical changes) 

      ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีความอยากอาหารลดลง ส่งผลให้น้ําหนักตัวลดลงหรืออาจรับประทาน

      อาหารมากขึ้น จนน้ําหนักเพิ่มขึ้น การพูดหรือการเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีแบบแผนการนอนที่ผิด

      ปกติไปจากเดิม เช่น นอนมากหรือนอนน้อยกว่าปกติ ขาดความสนใจในเรื่องเพศ มีความเชื่อ

      ว่าตนเองเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดศีรษะ และเจ็บหน้าอก

bottom of page